เรื่องของแร่ใยหิน ที่อันตรายมากกว่า PM2.5 ซะอีก หลายคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า แร่ใยหินคืออะไร??
เรื่องของแร่ใยหิน ที่อันตรายมากกว่า PM2.5 ซะอีก หลายคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า แร่ใยหินคืออะไร??
เราจะป้องกันอันตรายจากแร่ใยหินได้อย่างไร???
ประเทศไทยมีการนำเข้าแร่ใยหินมากว่า 70 ปี เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตวัสดุก่อสร้างต่างๆ เช่น กระเบื้องมุงหลังคา ฝ้าเพดาน ฉนวนกันความร้อน กระเบื้องยาง เนื่องจากแร่ใยหินมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความเหนียว ทนต่อความร้อน ทนต่อกรด ด่าง สารเคมีได้ดี และมีราคาที่ย่อมเยา ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศที่นำเข้าแร่ใยหินสูงสุดในเอเชีย โดยเฉพาะในปี 2540 ที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เฟื่องฟู มีการนำเข้าแร่ใยหินสูงถึงเกือบ 18,000 ตัน
แร่ใยหิน หรือ แอสเบสตอส (Asbestos) หมายถึง เส้นใยแร่ซิลิเกต ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ตามโครงการสร้างทางเคมี คือ
กลุ่มเซอร์เพนไทน์ ( Serpentile) มีลักษณะสั้น ยืดหยุ่น โค้งงอ มีเพียงชนิดเดียวคือ ไครโซไทล์ ( Chrysotile)เป็นเส้นใยสีขาว( White asbestos) มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ เส้นใยละเอียด ยืดหยุ่นได้ ทนต่อกรดด่าง และความร้อน
กลุ่มแอมฟิโบล์(Amphiboles) เป็นเส้นใยที่มีลักษณะเหยียดตรงคล้ายเข็ม โดยทั่วไปจะเปราะ และ หักได้ง่ายสามารถแยกเส้นใยออกตามยาวได้ง่ายกว่า ไครโซไทล์
แร่ใยหินมีความอันตรายต่อสุขภาพโดยองค์การอนามัยโลกได้สรุปไว้ชัดเจนว่าแร่ใยหินเป็นเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง ซึ่งระยะเวลาฟักตัวนั้นอาจใช้เวลานานถึง 15-30 ปี โดยกลุ่มคนที่เสี่ยงคือบุคคลที่ทำงานสัมผัสกับแร่ใยหิน และคนที่อาศัยอยู่ในบ้านหรืออาคารที่มีการต่อเติมซ่อมแซมและใช้วัสดุจากแร่ใยหิน แม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้มีการยกเลิกการใช้แร่ใยหิน แต่ในอาคารเก่าก็ยังมีวัสดุที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนอยู่จำนวนมหาศาล เมื่ออาคารหมดสภาพ เศษฝุ่นจากวัสดุพวกนี้จะกลายเป็นวัตถุอันตรายที่เป็นเสมือนมัจจุราชในรูปของฝุ่นผงที่แฝงอยู่ในบ้านของเรา
(ที่มา www.waymaganizne.org/asbestos/2018)
ฝุ่นแร่ใยหินที่อยู่ฟุ้งกระจายในสิ่งแวดล้อมสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ ทางการหายใจ ทางการรับประทาน ทางผิวหนัง เมื่อร่างกายได้สัมผัสฝุ่นแร่ใยหิน เส้นใยแร่ใยหินมีความแหลมคมทำให้เกิดอาการระคายเคือง เกิดตุ่มและบาดแผลที่ผิวหนัง ( Asbestos corns )
(ที่มา : http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/79)
เส้นใยของแร่ใยหินมีขนาดเล็กมาก
มีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างเท่ากับ 3:1 เมื่อหายใจรับเส้นใยเข้าสู่ปอด
เส้นใยจะสะสมและคงอยู่ในเนื้อเยื่อปอดตลอดไป
เนื่องจากเส่นใยมีความคงทนและคงอยู่ถาวรในร่างกาย
กลไกการทําลายเส้นใยจะก่อให้เกิดการทําลายเซลล์ปอดและกลไกการซ่อมแซมเซลล์
ปอดก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ซึ่งจะส่งผลให้เนื้อเยื่อปอดเกิดการอักเสบ
เกิดเป็นพังผืดและสามารถพัฒนาจนก่อให้เกิดเป็นเซลล์มะเร็งได้
พัฒนาการของการเกิดโรคจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เป็นระยะเวลานับ 10 ปี และเมื่อตรวจพบอาการ ของโรคก็จะไม่สามารถรักษาให้หายได้
ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องทุกข์ทรมานจากอาการของโรคปอดจนกว่าจะเสียชีวิต
(ที่มา : https://wtg.co.th/.../knowledge.../413-what-is-asbestos)
หากท่านอาศัยอยู่ในอาคารเก่าซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีวัสดุที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ จึงมีความจำเป็นในการป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากการฟุ้งกระจายของฝุ่นแร่ใยหิน ควรดำเนินการให้ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการรื้อแร่ใยหินแบบถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยของท่านและผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น
#แร่ใยหิน
#ใยหิน
#แอสเบสตอส
#asbestos