งานรื้อถอนอาคารหลังเหตุอาคารถล่ม
งานรื้อถอนอาคารหลังเหตุอาคารถล่ม
งานรื้อถอนอาคารหลังเกิดอุบัติเหตุ อาคารถล่ม
อาคารไม่ได้ถล่มเอง เนืองจาก อาคารที่กำลังรื้อถอนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์
เป็นอาคารที่ผ่านการใช้งานมาไม่มากก็น้อย ผ่านการใช้งานปกติมาแล้วไม่มีการพัง ร้าว
เอียง พอเกิดการถล่มหรืออุบัติเหตุ (จากประสบการณ์) อาคารที่อยู่ระหว่างรื้อถอนจะถล่มได้จะต้องมีการไปทำอยู่
2 สิ่ง คือ
หนึ่ง เพิ่มน้ำหนักเข้าไปบนตัวอาคาร (Over
Load) เช่น การใช้เครื่องจักร
แมคโครขึ้นไปทำการรื้อถอนบนอาคาร (บางครั้งแมคโครหนัก 6-10 ตัน)
โดยละเลยเรื่องการค้ำยันถ่ายน้ำหนัก หรือ มักง่าย เอาเร็วเข้าว่า หรือ ซากวัสดุ
เศษคอนกรีตจากการรื้อถอนกองบนอาคารมากเกินไป เปรียบเหมือน การเอาคน10ไปแบกลังใหญ่
ลังแรกแบกได้สบาย หลังจากนั้น คน 10 คนต้องแบกลังเพิ่มอีก 5 ลัง
ทำให้เกิดอาการล้าของคนแบก จึงล้ม
สอง การเจาะสกัดเสารับพื้น
เจาะสกัดคานรับพื้นหรือปล่อยให้เสาชะรูดมากเกินไป ลักษณะการรื้อแบบนี้
เป็นวิธียอดฮิตในเมืองไทย กว่า 90% ของงานรื้อถอนในประเทศไทยใช้หลักการนี้
(ภาษานักรื้อตึกใช้คำว่า “ล้มตึก”) โดยจะใช้รถแมคโครใส่หัวเจาะ
เจาะสกัดที่เสาโดยใช้การ “กะ” และ “ประสบการณ์” ของคนขับรถแมคโครนั่นเอง
โดยกะการล้มพับของอาคารให้ไปฝั่งที่ปลอดภัย
ซึ่งบางอาคารค่อนข้างเสี่ยงต่อความเสียหายไปยังอาคารโดยรอบ (ถ้าไม่ล้มผิดฝั่ง
หินกระเด็น หรือ เกิดจากการกระแทกระหว่างตัวอาคารที่ล้ม กับ อาคารข้างเคียง
(เนื่องจากเขต กทม ลักษณะเป็นดินอ่อน) )
รับรื้อถอน #รื้อถอน
#รื้อตึก #รื้อบ้าน
#ทุบตึก #โจ้ทุบตึก
#ทุบบ้าน #รื้อโรงงาน
#รับเหมารื้อถอน #รับรื้อตึก
#รับรื้อบ้าน #รับทุบตึก #LowNoiseDemolition #demolition #解体作業 #解体 #解体ビル #หนีบปูน
#หนีบคอนกรีต #รื้อถอนภายใน
#รื้อภายใน