การทำงานรื้อถอนในยุคไทยแลนด์ 4.0
การทำงานรื้อถอนในยุคไทยแลนด์ 4.0
การทำงานรื้อถอนในยุคไทยแลนด์ 4.0
การเข้าสู่ยุคการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การเข้ามาของสมาร์ทโฟน, อินเตอร์เน็ต ทุกอาชีพต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด หากอาชีพใดไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับยุคได้ ก็จำใจต้องล้มหายจากอาชีพทันที (บางอาชีพก็ไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ เช่น โทรเลข, นิตยสาร, สิ่งพิมพ์, ฟิลม์ถ่ายรูป, vdo tape, tape เครื่องเล่นcd เป็นต้น)
ผมใช้คำว่าทุกอาชีพ ซึ่งในที่นี้ก็หมายรวมถึงอาชีพรับเหมาทุบตึก รื้อถอนอาคารของผมด้วย
ในช่วงที่ผ่านมา ผมก็ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับงานรื้อถอนกับ "นักรื้อถอน" ชั้นครูหลายท่านในวงการ ทุกท่านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "การทำงานสมัยนี้ยากกว่าสมัยก่อนมาก" ตัวผมเองก็รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ ระยะ 1-2 ปีมานี้ รู้สึกงานมันยากขึ้นจริงๆ เช่น การร้องเรียนของเพื่อนบ้านข้างเคียง, การติดต่อเจ้าหน้าที่รัฐ, การเข้าร่วมประมูลงานต่างๆ ฯล
แต่ถึงแม้จะบ่นอย่างไรทุกคนก็ต้องปรับตัวหากต้องการอยู่รอดทางธุรกิจต่อไป (บางท่านถึงกับเปลี่ยนอาชีพกันเลยทีเดียว)
ผมพอสรุปใจความสั้นๆ เป็นข้อๆ ตามความรู้ที่ผมพึงมีได้ประมาณนี้ครับ
1. ต้องเป็นผู้ประสานสิบทิศ มีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น เช่น เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม , เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เป็นต้น
2. อย่าทำผิดกฎหมายหรือข้อบัญญัติเทศบาลที่ว่าด้วยการรื้อถอนเป็นอันขาด ยุคนี้ผู้ที่อยู่อาคารข้างเคียง สามารถดาวน์โหลดกฎหมาย , คัดเอกสารต่างๆได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว
3. พึงระลึกไว้เสมอว่า ชาวบ้านทุกคนคือ นักข่าวชั้นเยี่ยม ใช้มือถือถ่ายรูปแล้วโพสขึ้นเฟสบุ๊คหรือโพสหน้าเพจหน่วยงานราชการต่างๆได้ง่ายมาก
4. ชาวบ้าน เพื่อนบ้าน ตลอดจนผู้ร่วมงานกับเรามีความรู้ความเข้าใจวิธีการรื้อถอนไม่ด้อยไปกว่าเราเพราะโลกในยุคนี้สามารถหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้,คัดสำเนาจากหน่วยราชการง่ายขึ้น
5. หมดยุคทำงานได้ราคา ฟันลูกค้า ฮั้วประมูล การสอบราคากลาง การสรรหาผู้รับเหมารื้อถอนทุบตึกทำได้ง่ายบนสมาร์ทโฟน หน้าจอคอม
6. หน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่กล้าออกตัวช่วยเราแบบออกหน้าออกตาอีกต่อไป ชาวบ้านมีการศึกษา มีความรู้เรื่องกฎหมาย กล้าร้องเรียนเพื่อรักษาสิทธิตนเองมากขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก
7. การทำผนังกันฝุ่น รั้วชั่วคราว protection สำคัญมาก โดยปกติการทำรั้วชั่วคราว การปกคลุมอาคารที่จะรื้อถอน ทุบตึก งบในส่วนนี้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวจากในอดีตมาก นั่นก็หมายความว่า ผู้ว่าจ้างก็เริ่มตระหนักถึงความสำคัญในส่วนนี้
8. การรับงานต้องเผื่อความยากและมีเอกสารแสดงวิธีการรื้ออย่างชัดเจน
9. ต้องใช้เทคโลโลยี เครื่องจักรอันทันสมัยมากขึ้น อย่าหยุดพัฒนาตัวเองเป็นอันขาด
10.ใส่ใจสิ่งแวดล้อม การกำจัดใยหิน ฝุ่น เสียง วัสดุที่เหลือทิ้งจากงานรื้อถอน จะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับสังคม ช่วง 1-2 ปีมานี้ ผมเจองานแปลกๆเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้ได้บ่อยขึ้น
11. โมเดลการหางานได้เปลี่ยนไปแล้ว ในยุคแรกๆการติดป้ายตามที่ต่างๆ , การลงโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ ได้หมดยุคไปแล้ว(อาจพอได้บ้าง แต่ผมว่าถ้าเทียบค่าใช้จ่ายอาจไม่คุ้มค่ากับผลลัพท์) โมเดลไม่ใช่แบบท่อ อีกต่อไป แต่การเข้ามาของแพลตฟอร์มการหาลูกค้า หาผู้รับเหมาจะมีมากขึ้น ไม่มีใครควบคุมการเข้าออก การหาลูกค้าอีกต่อไป การรักษาลูกค้าเก่า ลูกค้าประจำสำคัญมากกว่าการหาลูกค้าใหม่
ประวัติศาสตร์บอกไว้ว่า ผู้ที่อยู่รอดมิใช่ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด แต่คือ ผู้ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงมากที่สุดนั่นเอง และ สุดท้ายกลไกธรรมชาติ(ทางธุรกิจ)จะคัดสรรผู้ที่ควรอยู่รอดต่อไป!!!!
โจ้ ปิยะมิตร
การเข้าสู่ยุคการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การเข้ามาของสมาร์ทโฟน, อินเตอร์เน็ต ทุกอาชีพต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด หากอาชีพใดไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับยุคได้ ก็จำใจต้องล้มหายจากอาชีพทันที (บางอาชีพก็ไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ เช่น โทรเลข, นิตยสาร, สิ่งพิมพ์, ฟิลม์ถ่ายรูป, vdo tape, tape เครื่องเล่นcd เป็นต้น)
ผมใช้คำว่าทุกอาชีพ ซึ่งในที่นี้ก็หมายรวมถึงอาชีพรับเหมาทุบตึก รื้อถอนอาคารของผมด้วย
ในช่วงที่ผ่านมา ผมก็ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับงานรื้อถอนกับ "นักรื้อถอน" ชั้นครูหลายท่านในวงการ ทุกท่านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "การทำงานสมัยนี้ยากกว่าสมัยก่อนมาก" ตัวผมเองก็รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ ระยะ 1-2 ปีมานี้ รู้สึกงานมันยากขึ้นจริงๆ เช่น การร้องเรียนของเพื่อนบ้านข้างเคียง, การติดต่อเจ้าหน้าที่รัฐ, การเข้าร่วมประมูลงานต่างๆ ฯล
แต่ถึงแม้จะบ่นอย่างไรทุกคนก็ต้องปรับตัวหากต้องการอยู่รอดทางธุรกิจต่อไป (บางท่านถึงกับเปลี่ยนอาชีพกันเลยทีเดียว)
ผมพอสรุปใจความสั้นๆ เป็นข้อๆ ตามความรู้ที่ผมพึงมีได้ประมาณนี้ครับ
1. ต้องเป็นผู้ประสานสิบทิศ มีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น เช่น เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม , เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เป็นต้น
2. อย่าทำผิดกฎหมายหรือข้อบัญญัติเทศบาลที่ว่าด้วยการรื้อถอนเป็นอันขาด ยุคนี้ผู้ที่อยู่อาคารข้างเคียง สามารถดาวน์โหลดกฎหมาย , คัดเอกสารต่างๆได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว
3. พึงระลึกไว้เสมอว่า ชาวบ้านทุกคนคือ นักข่าวชั้นเยี่ยม ใช้มือถือถ่ายรูปแล้วโพสขึ้นเฟสบุ๊คหรือโพสหน้าเพจหน่วยงานราชการต่างๆได้ง่ายมาก
4. ชาวบ้าน เพื่อนบ้าน ตลอดจนผู้ร่วมงานกับเรามีความรู้ความเข้าใจวิธีการรื้อถอนไม่ด้อยไปกว่าเราเพราะโลกในยุคนี้สามารถหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้,คัดสำเนาจากหน่วยราชการง่ายขึ้น
5. หมดยุคทำงานได้ราคา ฟันลูกค้า ฮั้วประมูล การสอบราคากลาง การสรรหาผู้รับเหมารื้อถอนทุบตึกทำได้ง่ายบนสมาร์ทโฟน หน้าจอคอม
6. หน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่กล้าออกตัวช่วยเราแบบออกหน้าออกตาอีกต่อไป ชาวบ้านมีการศึกษา มีความรู้เรื่องกฎหมาย กล้าร้องเรียนเพื่อรักษาสิทธิตนเองมากขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก
7. การทำผนังกันฝุ่น รั้วชั่วคราว protection สำคัญมาก โดยปกติการทำรั้วชั่วคราว การปกคลุมอาคารที่จะรื้อถอน ทุบตึก งบในส่วนนี้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวจากในอดีตมาก นั่นก็หมายความว่า ผู้ว่าจ้างก็เริ่มตระหนักถึงความสำคัญในส่วนนี้
8. การรับงานต้องเผื่อความยากและมีเอกสารแสดงวิธีการรื้ออย่างชัดเจน
9. ต้องใช้เทคโลโลยี เครื่องจักรอันทันสมัยมากขึ้น อย่าหยุดพัฒนาตัวเองเป็นอันขาด
10.ใส่ใจสิ่งแวดล้อม การกำจัดใยหิน ฝุ่น เสียง วัสดุที่เหลือทิ้งจากงานรื้อถอน จะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับสังคม ช่วง 1-2 ปีมานี้ ผมเจองานแปลกๆเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้ได้บ่อยขึ้น
11. โมเดลการหางานได้เปลี่ยนไปแล้ว ในยุคแรกๆการติดป้ายตามที่ต่างๆ , การลงโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ ได้หมดยุคไปแล้ว(อาจพอได้บ้าง แต่ผมว่าถ้าเทียบค่าใช้จ่ายอาจไม่คุ้มค่ากับผลลัพท์) โมเดลไม่ใช่แบบท่อ อีกต่อไป แต่การเข้ามาของแพลตฟอร์มการหาลูกค้า หาผู้รับเหมาจะมีมากขึ้น ไม่มีใครควบคุมการเข้าออก การหาลูกค้าอีกต่อไป การรักษาลูกค้าเก่า ลูกค้าประจำสำคัญมากกว่าการหาลูกค้าใหม่
ประวัติศาสตร์บอกไว้ว่า ผู้ที่อยู่รอดมิใช่ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด แต่คือ ผู้ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงมากที่สุดนั่นเอง และ สุดท้ายกลไกธรรมชาติ(ทางธุรกิจ)จะคัดสรรผู้ที่ควรอยู่รอดต่อไป!!!!
โจ้ ปิยะมิตร